วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญา(Wisdom)   
               คือ   เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้   สั่งสม และทดลองใช้   จนเกิดเป็นแบบแผนที่มีคุณค่าในการดำเนินชีวิต  โดยมีการถ่ายทอดกันสืบต่อมา ภูมิปัญญานั้นรวมความไปถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้   ซึ่งมนุษย์ได้สร้างสรรค์ไว้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ   ทางสังคม   ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนแก้ปัญหาได้   และสร้างสรรค์อารยธรรมได้ อย่างมีดุลยภาพกับสิ่งแวดล้อม   ภูมิปัญญา นั้นไม่ได้เกิดมาอย่างเป็นเอกเทศ แต่มีการแลกเปลี่ยนเลือกเฟ้นและปรับใช้ภูมิปัญญาจากอารยธรรมอื่นตลอดมา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน 


ภูมิปัญญาไทย 
                หมาย ถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย


ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย  
            -ด้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าวการทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น           
            -ด้าน อาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น
            -ด้าน ประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน 
            -ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละ ท้องถิ่น

ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยกับการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
1. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต
2. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย
3. สร้างความภาคภูมิใจ
4. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
5. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม
การแพทย์แผนไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
หมายถึง   กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษา และการป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพให้ มีสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้    การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับคนในชุมชนของตัวเองได้   เช่น

1.  การนวดแผนไทย    เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2   แบบ  ได้แก่1.   การนวดแบบราชสำนัก    2.   การนวดแบบเชลยศักดิ์   การนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท  และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง  เป็นต้น


2.  การประคบสมุนไพร     เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้


3.  น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ      น้ำ สมุนไพรและอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ   เช่น น้ำขิง   ช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ


4.   การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค        เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ
จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย
    ซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ


5.   กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน       เป็น ภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ  เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น