วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตอนที่1 กระบวนการสร้างเสริม และ ดำรงประสิทธิภาพ

    อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์ กันเป็นระบบ  ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น หากระบบใดทำงานผิดปกติก้จะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ด้วย เราจึงควรรู้จักป้องกันอวัยวะต่าง ๆ ทุกระบบ ให้สมบูรณ์แข็งแรง ทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอจะช่วยให้เรามีสุขภาพดี
   


1.1ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานต่างๆในร่างกาย
      มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย การแบ่งส่วนประกอบของร่างกายออกเป็นระบบต่างๆ จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้องง่ายขึ้นระบบต่างๆ ในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
    หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายมี ดังนี้
1.รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6.หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.ตรวจเช็ดร่างกาย
     นอกจากนี้ เราควรดูแลเอาใจใส่การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น หู ตา จมูก ผิวหนัง  ๆลๆ ให้อยู่ในสภาพที่สภาพที่สมบูรณ์ และทำงานได้ตามปกติ
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
  ประสาทคนเราแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และ ระบบประสาทส่วนปลาย
ระบบประสาทส่วนกลาง 
สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญ และ มี ขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาท มีน้ำหนักเฉลี่ย 1.4 กม.หรือประมาณ3ปอนด์ สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนท้าย

ไขสันหลัง  เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกลงไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่2 ซึ่งมี ความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวของกระดูกสันหลัง ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนอง จากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกายนอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยา รีเฟลกซ์
                                                 2. ประสาทส่วนปลาย ได้แก่
1.เส้นประสาทสมอง มีอยู่ 12 คู่
2.เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู่ 31 คู่
3.ประสาทระบบอัตโนมัติ


1.2.2 การทำงานของระบบประสาท  เป็นระบบที่ทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อ และ ยัง ควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กระพิบราว 25 ครั้งต่อนาทีด้วย และ ยังรับกระสประสาทจากอวัยวะภายในต่าง ๆ และส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ และหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน


1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท  มีดังนี้
1.ระวังไม่ให้ศรีษะเกิดการกระทบกระเทือน
2.ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3.หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง
4.พยายามผ่อนคลายความเครียด
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


1.3 การสืบพันธุ์
ระบบ สืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป เพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ต้องอาศัยอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง
1.อัณฑะ   เป็น ต่อมที่มีคุณลักษณะคล้ายรูปไข่ อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ เพศชายที่มีร่างกายปกติจะมีอยู่ 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย
2.ถุงหุ้มอัณฑะ  เป็น ถุงของผิวหนังอยู่นอกช่องท้อง ซึ่งสีของผิวหนังส่วนนี้มักจะเข้มกว่าส่วนอื่นของร่างกายทั่วไป ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
3.หลอดเก็บตัวอสุจิ  มี ลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขดทบไปมา รูปร่างคล้ายลูกน้ำตัวเต็มวัย ส่วนบนโต ส่วนล่างแคบ อยู่ด้านบนของอัณฑะ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
4.หลอดนำตัวอสุจิ  เป็น ท่ออยู่ถัดจากส่วนล่างของหลอดเก็บตัวอสุจิ มีอยู่ 2 ท่อ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

5.ต่อมสร้างนำเลี้ยงอสุจิ   ป็น ต่อมรูปร่างคล้ายถุงยาว ๆ ผนังไม่เรียบอยู่ด้านหลังต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน
6.ต่อมลูกหมาก  เป็น ต่อมที่มีขนาดใกล้เคียงกับต่อมลูกหมาก อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
7.ต่อมคาวเปอร์  เป็น ต่อมที่มีรูปร่างกลมขนาดเท่าเม็ดถั่ว อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไป ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เร็ว และทำให้ตัวอสุจิไม่ตายก่อน
 








1.รังไข่ มี ลักษณะรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม และมี 2 อัน อยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างโดยด้านในยึดติดกับมดลูกโดยเส้นเอ็น ส่วนด้านนอกยึดติดกับลำตัว ทำหน้าที่ดังนี้

1.ผลิตไข่ โดยปกติไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงจะสุกเดือนละ 1 ใบ ตลอด ช่วงชีวิตของเพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือ เริ่มตั้งแต่อายุ 11-14 ปี ไปจนถึงอายุประมาณ 45-50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง
2.สร้างฮอโมนเพศหญิง ได้แก่
1.เอสโทรเจน
2.โพรเจสเทอโรน


2.ท่อนำไข่ เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก มีกล้ามเนื้อซึ่งบีบรัดตัวเสมอ ทำ หน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลายข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ เรียกว่า ปากแตร บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้น ๆ ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกมาจากรังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่
3. มดลูก  ประกอบ ด้วยโครงสร้าง 3 ชั้น คือ ชั้นนอกเป็นเยื่อบางๆปกคลุมด้านนอกมดลูกชั้นกลางประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ที่หนาและขยายตัวได้มากในเวลาตั้งครรภ์ และชั้นในสุดเรียกว่าเยื่อบุมดลูกมีลักษณะบาง เป็นที่ฝั่งตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมดลูกทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.ช่องคลอด  เป็น ท่อยาวจากปากช่องคลอดไปจนถึงปากมดลูก อยู่ระหว่างท่อปัสสาวะและทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด และยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาสู่ภายนอก ที่ปากช่องคลอดมีเยื่อพรหมจารีปิดอยู่


1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์  มีดังนี้
1.ดูและร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
2.ออกกำลังหายอย่างสม่ำเสมอ
3.งดเครื่องดื่มที่มีส่วมผสมของแอลกอฮอล์
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
6.สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น
7.ไม่ใส่เสื้อผ้าจากผู้อื่น
8.ไม่สำส่อนทางเพศ
9.เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆควรไปพบแพทย์