วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์

มะเร็งปอด
มะเร็งปอด เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของหลอดลมและปอด แต่เป็นชนิดที่ร้ายแรง เริ่มแรกมะเร็งปอดจะเป็นก้อนขนาดเล็ก หากปล่อยไว้ก้อนจะโตขึ้นลุกลามเข้าแทนที่เนื้อปอดปกติ และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ สมอง กระดูก เป็นต้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

1.
บุหรี่ จาก การศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลกยืนยันว่า มะเร็งปอดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสูบบุหรี่ ทั้งผู้สูบเอง และผู้ได้รับควันบุหรี่


การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด

ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 12 เท่า

ผู้ที่สูบบุหรี่นานไม่เกิน 20 ปี จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 9 เท่า

ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 21-40 ปี มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 30 เท่า

ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 41-60 ปี มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 47 เท่า

ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี

ผู้ที่ต้องดูดควันบุหรี่ของคนอื่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งด้วย


ประโยชน์ของการหยุดบุหรี่

ถ้าผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดบุหรี่ได้ทัน ก่อนที่ปอดจะได้รับความเสียหายอย่างถาวร โอกาสของการเกิดโรคมะเร็งปอดจะลดลงทันที

ผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้นาน 10-15 ปี จะลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ครึ่งหนึ่ง

สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งปอดแล้ว การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้อาการดีขึ้น และอยู่ได้นานขึ้นกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป


2.
แอสเบสตอส (Asbestos = สารใยหิน)


เป็นแร่ธาตุที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ครัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอเหมืองแร่


ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ

ระยะเวลาที่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี

ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็งปอด มากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า


3.
เรดอน เป็นก๊าซกัมมันรังสีไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนี่ยมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ๆ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดิน อาจมีปริมาณมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้


4.
มลภาวะในอากาศ ได้แก่ ควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
อาการ : ระยะแรกของโรค จะไม่มีอาการใดๆ บ่งชี้อย่างแน่ชัด เมื่อโรคลุกลามมากแล้วอาการที่อาจพบ ได้แก่

ไอเรื้อรัง \ ไอเป็นเลือด

หอบเหนื่อย \ เจ็บแน่นหน้าอก

น้ำหนักลดรวดเร็ว \ เบื่ออาหาร

กลืนอาหารลำบาก

เสียงแหบ

มีก้อนที่คอ (มะเร็งกระจายมาตามต่อมน้ำเหลืองที่คอ)

ปวดกระดูกซี่โครง ไหปลาร้า ปวดกระดูกสันหลัง (มะเร็งกระจายมากระดูก)

แขน ขา อ่อนแรง (มะเร็งกระจายไปสมอง)

ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้

โดยอาการดังกล่าว มักเป็นอาการร่วมของโรคต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและวินิจฉัยที่ถูก ต้องต่อไป
การวินิจฉัย

1.
ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

2.
ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง (Sputum Cytology)

3.
ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม (Bronchoscopy)

4.
ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า ไปตรวจเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา (Biopsy, Scalene node biopsy)
การรักษา

1.
การผ่าตัด

2.
รังสีรักษา

3.
เคมีบำบัด

4.
การรักษาแบบผสมผสานวิธีดังกล่าวข้างต้น

5.
การรักษาแบบประคับประคอง
การป้องกัน

1.
เลิกสูบบุหรี่

2.
หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม

3.
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มีวตามินซี วิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด

4.
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุรา อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้
              แหล่งข้อมูล : สถาบันโรคทรวงอก       
   ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
- การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
- มาทำความรุ้จักกับมะเร็งปอดให้มากขึ้น
- เส้นทางแพร่กระจายของมะเร็งปอด
- เคมีบำบัดคืออะไร
- การป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

นาย ณรงค์  อมรจิตรเวชกุล ม.6/6 เลขที่ 28

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ


การออกกำลังกาย
                การออกกำลัง เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ทุกวันและทุกเวลา และควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายนั้น จะช่วยให้ร่างกายเราแข็งแรง ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย และทำให้รูปร่างดี ซึ่งการออกกำลังกายนั้น จริงๆแล้ว เราก็ทำอยู่ทุกวัน เพียงแต่เราออกกำลังกายน้อยมาก ซึ่งราควรออกกำลังกายอย่างน้อยครึ่งชม.ต่อวัน ก็จะช่วยให้เราแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

การเริ่มออกกำลังกาย
                การเริ่มออกกำลังกายจะช่วยให้ออกกำลังกายได้ในเบื้องต้น และเราควรทำให้ติดจนเป็นนิสัย โดยเราอาจเริ่มจากการออกกำลังกายจากเบาๆไปหนักๆได้ เช่น
- การลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ้างในเวลานั่งทำงานนานๆ
- การเดินไปสถานที่ทำงานถ้าสถานที่ทำงานใกล้บ้าน
- ปั่นจักรยานยามเช้า หรือเวลาว่าง
- ทำงานบ้าน
- ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์
- การเต้นแอร์โรบิค
- การเล่นกีฬาต่างๆที่สามารถเล่นได้
ความปลอดภัยในการออกกำลังกาย
                เราควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง ควรอยู่ในขอบเขตไม่ควรเล่นท่าประหลาดต่างๆที่นอกเหนือท่านั้นเพราะอาจทำให้ได้รับอันตรายต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลถึงพิการได้เลยทีเดียว เราจึงควรเล่นอย่างมีระเบียบ ซึ่งเราไม่ควรเล่นอย่างหักโหมด้วย เพราะมันจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งควรจะค่อยๆเล่นเหนื่อยก็พัก  
มีอาการอย่างไรควรหยุดพักการออกกำลังกาย
- มีอาการหัวใจเต้นรัวและเร็วผิดปกติ
- หายใจไม่ทันหรือพูดไม่ค่อยได้
- กล้ามเนื้อเป็นตระคิว
- หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
ประโยชน์จากการออกกำลังกาย
- ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
 - เสริมสร้างกล้ามเนื้อต่างๆทำให้รูปร่างดี
- ช่วยป้องกันโรคที่รักษายากต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
- ทำให้จิตใจแจ่มใส ผ่อนคลายความเครียดไม่ซึมเศร้า
- ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
- ทำให้ร่างกายแข็งแรง